♥♥♥¸.•*♥..ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อกของ นายรัตน์ชัย ศรีทนงาม คบ.2 คอมพิวเตอร์ศึกษา ครับผม..♥♥♥¸.•*♥

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555



ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา



            

              นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมาย ถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
         เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
        เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก
1. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษาพอจะสรุปได้4 ประการ คือ
   1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
   2. ความพร้อม (Readiness)
   3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
   4. ประสิทธิภาพในการเรียน
2. นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
          ความหมาย e-Learning หมายถึง การ เรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯเรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะ กระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่าง กัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
   1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
   2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
3. ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
4. เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา


1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ ก
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุ อุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
5. หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 4 ทฤษฎี
   1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
      1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
      1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
      1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
   2. ทฤษฎีการสื่อสาร
   3. ทฤษฎีระบบ
   4. ทฤษฎีการเผยแพร่

           นอกจากนี้ หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษายังต้องอาศัย วิธีการที่สำคัญอย่างน้อยอีก 2 วิธี คือ
       วิธีการเชิงมนุษยวิทยา (Humunistic Approach) ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการ
พัฒนา ในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคน นักการศึกษา เชื่อว่าไม่มีวิธีการเรียนการสอนอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากแต่การใช้หลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน (Integration) หรือเลือกวิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เหมาะกับความต้องการของผู้เรียนนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
          วิธีการสอนเชิงระบบ (Systematic Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบ ทั้งเพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะของการเข้าใจเนื้อหาวิชา ซึ่งการจัดการเรียนการสอนไม่อาจปล่อยให้เป็นไปตามยะถากรรมหรือตามอำเภอใจของ ผู้สอนหรือผู้เรียนได้ โดยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเป็นไปตามระบบ ก็คือ มีการวางแผนการสอนในด้านการจัดผู้เรียน วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และพยายามทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามแผนนั้น
จิตวิทยาการเรียนรู้
     การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ในลักษณะที่พึงประสงค์ การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ จะต้องมีระบบระเบียบ วิธีการ และอาศัยความรู้ต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา การศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กระบวนการสื่อความและสื่อความหมายและสื่อความหมาย การพิจารณาการเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นต้องสังเกตและวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยน ไป การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การกำหนดทฤษฎี การเรียนรู้ต่าง ๆ ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มพฤติกรรมร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียนรวมทั้งวิธีการจัด ระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ไปตาม วัตถุประสงค์
      การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วย ประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญญาณ หรือการรับรู้ (perception)
       มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2 สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อน ที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3 การตอบสนอง (Response) เมื่อ มีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4 การได้รับรางวัล (Reward) ภาย หลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
     1 ประสบการณ์ (experiences) ใน บุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบ สนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย
    2 ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"
    3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์ เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ความหมาย แนวคิด ทฤษฎี ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
          “นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น 
           “นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
          เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมาย ถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
          แนวคิดรวบยอดของเทคโนโลยีทางการศึกษา  ซึ่งอาจจะพิจารณาเป็น 2 ด้าน คือ          1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
          2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้ เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว (boonpan edt01.htm)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4 ประการ คือ
          1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) แผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
              - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - เครื่องสอน (Teaching Machine)
              - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
          2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
              - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
              - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
              - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
           3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
              - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
              - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
              - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
              - การเรียนทางไปรษณีย์
          4. ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
              - มหาวิทยาลัยเปิด
              - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
              - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
              - ชุดการเรียน
หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/ แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎี ทางจิตวิทยาการศึกษา
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าว ไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่าง ใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่ง กล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบ
กฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
แนวคิดของธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ  
ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการคือ
 1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขา ไว้ 5 ประการคือ
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าว ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
แนวคิดของสกินเนอร์   นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะ ใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
2.หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
                คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ  สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept)  ส่วนบุคคล  ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน  การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน  ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี   ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา  ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ  ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ  สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ  จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
 7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน  อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ  จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ  ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน  สอดคล้องกับ ความต้องการ  ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี  โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ  จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ  เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
10.การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น  ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที  หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
แนวคิดของบูเกสสกี (Bugelski)  ได้ สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป็นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัย ไว้ให้  เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวก ซึ่งหมายถึงว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน
3.ทฤษฎีการรับรู้
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้น ก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อ การสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด
แนวคิดของรศ.ดร.สาโรช โศภี  ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่าการรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง  การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า
แนวคิดของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์  และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม  กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพและ ทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้
แนวคิดของ Fleming  ให้ข้อเสนอแนะว่ากระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย มีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้อง รู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
1.โดย ทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2ใใน การเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็น จริง
3.เมื่อ มีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความ มุ่งหมาย
 วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  เป็นวิชาสุดท้ายสำหรับการเรียน  ป.บัณฑิต วิชาชีพครูของดิฉัน  ซึ่งจากการเรียนวิชานี้ทำให้ทราบถึงความรูเบื้องต้นเกี่ยวกับนวัตกรรม  เทคโนโลยีสรสนเทศ  แนวคิด  ทฤษฎีต่างๆเพื่อสามารถนำมาใช้ในการออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
   เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) 
         เป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์  ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น       ซึ่งในการนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)  ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯเป็นต้น
           จากการที่ได้เรียนวิชานี้นั้นทำให้ดิฉันทราบว่า  ปัจจุบันครูควรลดบทบาทให้เหลือน้อยที่สุด จากการสอนแบบบอกให้จด หรือบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นผู้อำนวยการเรียน  เป็นการให้นักเรียนเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนให้มากที่สุด โดยครูเป็นผู้วางแผนการสอนออกมาเป็นกิจกรรมการเรียน ให้นักเรียนเรียนเป็นกลุ่ม หรือเรียนด้วยตนเอง การพัฒนาการเรียนการสอนนั้นควรยึดหลักที่สำคัญก็คือ  ต้องใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ ให้เหมาะสมกับช่วงวัยหรือกลุ่มที่จะเรียน  จัดกิจกรรมการเรียนให้เข้ากับหลักสูตร มีห้องเรียนอเนกประสงค์คือห้องเรียนที่ใช้ได้ทั้งนักเรียนกลุ่มใหญ่  และกลุ่มเล็ก หรือใช้เป็นที่เรียนแบบอิสระ  ซึ่งการที่มีการคิดค้นนวัตกรรมต่างๆมาใช้เพื่อการเรียนการสอนนั้น   ก็เพื่อใช้ในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา  การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน   ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน
                 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา  จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารและครู-อาจารย์ในสถานศึกษา เห็นและเข้าใจในประโยชน์ของนวัตกรรมต่างๆ  มีการนำมาใช้ให้เคยชินกับเทคโนโลยีเหล่านั้นอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด  คอยติดตามข่าวสาร และมีการรับทราบ เพื่อที่จะนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนในสถานศึกษาของตนให้มีพัฒนาการทางการเรียนที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

    นโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการศึกษา รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศโดยได้กำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะพ.ศ.2544-2553 ของประเทศไทยในการให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาอาชีพคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยได้รับบริการที่ทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้  การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา ต้องยึดถือในกรอบความเป็นเทคโนโลยีการศึกษา
-หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา
-ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
     ทิศทางการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เกิดความ ท้าทายจากวิทยาการที่เปลี่ยนไป
2. ต้องการพิสูจน์ทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
3. แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาสมัยใหม่
    ลักษณะการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา
1. เป็นการวิจัยที่นำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาจากแหล่งอื่นในสภาพการณ์ต่างที่ต่างกัน เพื่อมาทดลองในที่ใหม่ สภาพการณ์ใหม่
2. เป็นการวิจัยที่ดัดแปลง ขยายหรือเสริมแต่งความคิดและวิธีการเดิม แล้วนำมาทดลอง เพื่อดูว่าใช้ได้ผลในขณะนี้หรือไม่ เพียงใด?
3. เป็นการวิจัยที่จะฟื้นฟูสิ่งที่เคยทำไว้ก่อนแล้วแต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์
4. เป็นการวิจัยที่มีสภาพการณ์ใหม่ ซึ่งในอดีตไม่ปัจจัยต่าง ๆ ไม่เอื้ออำนวย
5. เป็นการวิจัยในสิ่งที่ได้คิดค้นขึ้นมาใหม่
การเปลี่ยนแปลงและทิศทางของการศึกษา
แนวคิดด้านการศึกษาที่ทำให้เกิดทิศทางและแนวโน้มของการเรียนการสอน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามวิวัฒนาการและการปฏิวัติทางความรู้ (Knowledge Revolution) ทำให้กระบวนทัศน์การเรียนรู้และสถาบันการศึกษาเปลี่ยนไป จากการรวบรวมผลการศึกษาวิจัยพบการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้และสถาบันการศึกษา
ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้
       ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2541) ได้กล่าวทฤษฏีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา มีดังนี้
1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 

           
        เป็นทฤษฎีซึ่งเชื่อว่าจิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของ         พฤติกรรมมนุษย์ (Scientific Study of Human Behavior) และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ( Stimuli and Response ) เชื่อว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์จะเกิดขึ้นควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงอาการกระทำ (Operant Conditioning) ซึ่งมีการเสริมแรง ( Reinforcement) เป็นตัวการ โดยทฤษฏีพฤติกรรมนิยมนี้จะไม่พูดถึงความนึกคิดภายในของมนุษย์ ความทรงจำ ภาพ ความรู้สึก โดยถือว่าคำเหล่านี้เป็นคำต้องห้าม (Taboo) ซึ่งทฤษฎีนี้ส่งผลต่อการเรียนการสอนที่สำคัญในยุคนั้น ในลักษณะที่การเรียนเป็นชุดของพฤติกรรมซึ่งจะต้องเกิดขึ้นตามลำดับที่แน่ชัด การที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นจะต้องมีการเรียนตามขั้น ตอนเป็นวัตถุประสงค์ๆ ไป ผลที่ได้จากการเรียนขั้นแรกนี้จะเป็นพื้นฐานของการเรียนในขั้นต่อ ๆ ไป ในที่สุด
2) ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) 
          เกิดจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ไม่เห็นด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดา ของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์ไว้ว่าเป็นเหมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจมนุษย์ไม่ใช้ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์ จิตใจ และความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคำนึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วย ในช่วงนี้มีแนวคิดต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น แนวคิดเกี่ยวกับการจำ ( Short Term Memory , Long Term Memory and Retention) แนวคิด เกี่ยวกับการแบ่งความรู้ออกเป็น 3 ลักษณะคือ ความรู้ในลักษณะเป็นขั้นตอน (Proce-dural Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่อธิบายว่าทำอย่างไรและเป็นองค์ความรู้ที่ต้องการลำดับการเรียนรู้ที่ชัดเจน ความรู้ในลักษณะการอธิบาย (Declarative Knowledge) ซึ่งได้แก่ความรู้ที่อธิบายว่าคืออะไร และความรู้ในลักษณะเงื่อนไข (Conditional Know-ledge) ซึ่งได้แก่ความรู้ที่อธิบายว่าเมื่อไร และทำไม ซึ่งความรู้ 2 ประเภทหลังนี้ ไม่ต้องการลำดับการเรียนรู้ที่ตายตัว
3) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Scheme Theory)
          ภายใต้ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) นี้ยังได้เกิดทฤษฎีโครงสร้างความรู้ ( Scheme Theory) ขึ้นซึ่งเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าโครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้นจะมีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ ในการที่มนุษย์จะรับรู้อะไรใหม่ ๆ นั้น มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ที่เพิ่งได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม (Pre-existing Knowledge) รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony,1977) ได้ให้ความหมายของคำ โครงสร้างความรู้ไว้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลภายในสมองของมนุษย์ซึ่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับวัตถุ ลำดับเหตุการณ์ รายการกิจกรรมต่างๆ เอาไว้ หน้าที่ของโครงสร้างความรู้นี้ก็คือ การนำไปสู่การรับรู้ข้อมูล (Perception) การรับรู้ข้อมูลนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากขาดโครงสร้างความรู้ (Schema) ทั้งนี้ก็เพราะการรับรู้ข้อมูลนั้นเป็นการสร้างความหมายโดยการถ่ายโอนความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม ภายในกรอบความรู้เดิมที่มีอยู่และจากการกระตุ้นโดยเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่ช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้นั้น ๆ เข้าด้วยกัน การรับรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เนื่องจากไม่มีการเรียนรู้ใดที่เกิดขึ้นได้โดยปราศจากการรับรู้ นอกจากโครงสร้างความรู้จะช่วยในการรับรู้และการเรียนรู้แล้วนั้น โครงสร้างความรู้ยังช่วยในการระลึก (Recall) ถึงสิ่งต่างๆ ที่เราเคยเรียนรู้มา (Anderson,1984)การนำทฤษฎีโครงสร้างความรู้มาประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะส่งผลให้ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาที่มีการเชื่อมโยงกันไปมา คล้ายใยแมงมุม (Webs) หรือบทเรียนในลักษณะที่เรียกว่า บทเรียนแบบสื่อหลายมิติ (Hypermedia)
ดังนั้นในการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา จึงจำเป็นต้องนำแนวคิดของทฤษฎีต่าง ๆ มาผสมผสานกัน เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะและโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเพียงทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และตอบสนองลักษณะโครงสร้างขององค์ความรู้ของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่แตกต่างกันนั่นเอง
นวัตกรรมสร้างความรู้ มีความโดดเด่นทั้งด้านหลักการแนวคิดในการออกแบบ และความหลากหลายของสื่อและวิธีการที่ใช้

นวัตกรรมสร้างความรู้ มีแนวคิดการออกแบบที่สอดคล้องกับยุคปฏิรูปมากกว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

        นวัตกรรมสร้างความรู้ มีหลักการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการเชื่อมโยงประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม จนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง  ไม่เน้นให้ผู้เรียนท่องจำ  ขณะที่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่บนพื้นฐานแนวคิดในการออกแบบโดยเน้นให้ผู้เรียนท่องจำ ทำซ้ำ ทำบ่อยๆ โดยไม่เน้นให้คิดและยังปราศจากบริบทด้วย ดังนั้น นวัตกรรมสร้างความรู้ จึงมีความโดดเด่นกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในมิติของหลักการในการออกแบบ  ซึ่งนวัตกรรมสร้างความรู้ มีแนวคิดในการออกแบบที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในยุคปฏิรูปมากกว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

นวัตกรรมสร้างความรู้ มีการบูรณาการวิธีการจัดการเรียนรู้ร่วมกับสื่อมากกว่า บทเรียนโปแกรม
นวัตกรรมสร้างความรู้ มีแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เช่น  การเรียนรู้หรือค้นพบด้วยตนเอง  การเรียนรู้จากเพื่อน ผู้ปกครองและครูหรือการเรียนรู้จากกรณีศึกษาต่างๆ  โดยนวัตกรรมสร้างความรู้ สามารถใช้สื่อและทรัพยากรที่หลากหลาย  จึงมีความยืดหยุ่นที่จะนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสาระต่างๆ  ขณะที่ บทเรียนโปแกรม มีวิธีการจัดการเรียนรู้เพียงรูปแบบเดียว นั่นคือ การให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามกรอบเนื้อหาที่ครูจัดเตรียมไว้  ซึ่งในการศึกษาผู้เรียนจะไม่มีโอกาสได้มีปฏิสัมพันธ์หรือเรียนรู้จกบุคคลรอบข้างหรือสิ่งแวดล้อมเลย  และสื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับบทเรียนโปรแกรมมีเพียงใบความรู้ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ครูจัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น

นวัตกรรมสร้างความรู้
 มีความเป็นสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้มากกว่า เว็บช่วยสอน (WBI)
    นวัตกรรมสร้างความรู้ เป็นนวัตกรรมที่บูรณาการวิธีการจัดการเรียนรู้เข้ากับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งปฏิสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อม  ดังนั้น องค์ประกอบของนวัตกรรมสร้างความรู้ จึงมีหลากหลาย ทั้งสื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้ หรือเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้นั้นเอง ในขณะที่เว็บช่วยสอน (WBI) เป็นเพียงการจัดเตรียมหรือรวบรวมสารสนเทศหรือทรัพยากรการเรียนรู้แบบออนไลน์ไว้สำหรับผู้เรียนเท่านั้น  ไม่ได้มีการกำหนดหรือระบุวิธีการจัดการเรียนรู้แต่อย่างใด  ดังนั้น  นวัตกรรมสร้างความรู้ จึงเป็นสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่จะสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดีกว่าเว็บช่วยสอน (WBI)